ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อัล - อัซฮัร มหาวิทยาลัยอันเก่าแก่ของโลก

   

ในสมัยต่อมาอิบนุกิลิซ เป็นบุคคลแรกที่มีความคิดในการนำอัซฮัรมาเป็นสถาบันการศึกษา เมื่อได้รับการยินยอมจากอัล-อะซีซบิลละห์ อิบนุกิลลิซก็ได้ทำการแต่งตั้งกลุ่มนักวิชาการกฎหมายอิสลามขึ้นทำการสอนใน อัซฮัร ในยุคนั้นอัซฮัรมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวทางวิชาการเป็นอย่างมากและส่ง เสริมด้านการศึกษาศาสนา วรรณคดี กิรออาต ไวยากรณ์ ตรรกวิทยา และดาราศาสตร์ในสมัยของอัลฮากิมบิอัมริลลาฮ์ ซึ่งเป็นคอลีฟะห์คนที่ 6 ของราชวงศ์ฟาตีมีย์ในฮ.ศ.357-411) ดารุลฮิกมะห์ ศูนย์วิชาการของอัซฮัรได้มีส่วนร่วมในด้านวิชาการเป็นอย่างมากขั้นตอนการ ศึกษาในช่วงนี้มุ่งมั่นไปในทางด้านการค้นคว้า การออกความคิดเกี่ยวกับประเด็น และปัญหาต่างๆของศาสนาซึ่งจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ
      ต่อมาถึงสมัยซอลาฮุดดีน อัล-อัยยูบีย์ ฮ.ศ.567-589 ซึ่งเป็นผู้นำของอียิปต์ท่านหนึ่งได้เข้ายึดครองอัซฮัร และได้ดำเนินการทางด้านศาสนาในแนวทางของซุนนีย์ ซึ่งในขณะนั้นราชวงศ์ฟาตีมีย์ได้หมดอำนาจลง ดังนั้นอัซฮัรจึงตกเป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องถูกลดบทบาทลง เนื่องจากอัซฮัรเป็นพื้นฐานของการเผยแพร่ของราชวงศ์ฟาตีมีย์ ต่อมาท่านซอลาฮุดดีนได้สั่งการยกเลิกการละหมาดยุมอัต ในมัสยิดอัซฮัร ทำให้มัสยิดแห่งนี้ว่างเว้นจากการละหมาดยุมอัตเป็นเวลาประมาณ 100 ปี และกลับมาทำกาละหมาดอย่างปกติในสมัยของอัล-ซอเฮรไบบะริส ซึ่งอยู่ในสมัยมัมลูกีย์(ค.ศ.1253-1372) ในสมัยมัมลูกีย์ฐานะที่สูงส่งของอัซฮัรได้ถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งโดย ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากพวกมัมลูกีย์ โดยมีอัลซอเฮร และซุลต่านคนอื่นๆให้การส่งเสริมและได้มีการละหมาดยุมอัต 

     หลังจากที่หยุดไปในสมัยของอัยยูบีย์ มีการซ่อมแซมมัสยิดบริจาคเงินเพื่อใช้ในกิจการนั้นมีความรุ่งเรืองในวิชา ฟิกฮ์ ตัฟซีร ฮะดีษ กีรออ้าต ปรัชญา คณิตศาสตร์ และชีวะวิทยา (แขนงวิชาการสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในอัซฮัรซึ่งได้เริ่มการศึกษาเมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 10 ซึ่งเชื่อแน่ว่าเป็นการศึกษาที่มีมาก่อนชาวยุโรป)
 ได้มี การแต่งตั้งอิหม่ามขึ้นมาในการละหมาดและอ่านคุตบะฮ์แก่ปวงชนเช่นเดียวกับการ แต่งตั้งผู้ดูแลกิจการต่างๆ และผู้ปกครองสมัยนั้นได้ให้การดูแลเอาใจใส่ต่อการบริหารการเงินและการก่อ สร้าง จำนวนนักศึกษาในเวลานั้นมีประมาณ 750 คน จากถิ่นต่างๆของอียิปต์  เปอร์เซีย ซูดาน และอัฟริกาตอนเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกๆ เชื้อชาติที่มาเล่าเรียนจะมีที่พักให้อยู่อาศัย ในสมัยมัมลูกีย์นี้ อัซฮัรจึงเป็นสถานที่สำหรับประกอบอิบาดะฮ์ เป็นมหาวิทยาลัยชั้นสูงของการศึกษาศาสนาอิสลาม และภาษาอาหรับเป็นศูนย์กลางของรัฐอย่างเป็นทางการ เป็นที่พักพิงอันมั่นคงแก่ประชาชนผู้ถูกกดขี่
       เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มก่อตั้งอัล-อัซฮัร มีหลายเรื่องด้วยกัน กล่าวคือ เมื่อ ค.ศ.656 นั้นพวกมองโกลซึ่งอาศัยอยู่ในแคว้นไซบีเรียได้เรืองอำนาจขึ้น และเข้ามายึดครองกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง จนมาถึงประเทศอียิปต์ และในที่สุดพวกมองโกลก็เข้ามาคุมอำนาจปกครองทั้งหมด ภายใต้อาณัติของพวกเหล่านี้จึงเกิดการต่อต้านและมีการรบราฆ่าฟันเพื่อไล่พวก มองโกล และเกิดมีการสังหารบุคคลสำคัญทั้งในการเมืองและศาสนาขึ้น 

      ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่สามารถทำการสอนตามปกติได้ และในระยะเวลาต่อมา บรรดากลุ่มมุสลิมในประเทศอียิปต์ก็ได้พร้อมใจกันลุกขึ้นสู้ และสามารถขับไล่พวกมองโกลออกไปจากดินแดนของตนจนหมดสิ้น เมื่อเหตุการณ์สงบลงอัซฮัรจึงได้เปิดทำการสอนได้ตามปกติ พร้อมทั้งได้มีการเรียกร้องนักปราชญ์ และนักวิชาการที่ยังมีชีวิตอยู่พร้อมกับพวกอพยพหนีพวกมองโกลไปอยู่ที่สเปน และที่อื่นๆ ให้กลับคืนสู่อัซฮัรเหมือนเดิม เพื่อดำรงการไว้ซึ่งการศึกษาและเป็นประโยชน์ต่อชนรุ่นหลังต่อไป อัซฮัรยังคงให้ความรู้แก่บรรดาเยาชนมุสลิมตลอดเรื่อยมาจนถึงสมัยอุสมานี ย์(ออตโตมัน) ซึ่งไม่มีสถาบันใดเลยที่ให้ความรู้ได้สมบูรณ์ เทียบเท่าอัซฮัรทั้งๆที่ในขณะนั้นได้มีการนำเอาภาษาตุรกีเข้ามาปะปนกับภาษา อาหรับ พวกอุสมานีย์ได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ภาษาตุรกี เข้ามามีบทบาทในส่วนราชการและเอกชน เพื่อให้ภาษาตุรกีแทรกซึมจนสามารถเป็นภาษาที่ใช้ได้ทั่วไปในหมู่ประชาชนชาว อียิปต์ แต่เนื่องจากอัซฮัรนั้นเป็นแกนนำสำคัญในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการคง อยู่ของภาษาอาหรับในประเทศอียิปต์ ด้วยเหตุนี้พวกตุรกีจึงไม่สามารถทำให้ภาษาของพวกเขาแพร่หลายไปในหมู่ประชาชน ชาวอียิปต์ได้ และตุรกีก็ได้รับความพ่ายแพ้ไปในที่สุด 
      เรื่องราวเหตุการณ์ความเป็นมา นับตั้งแต่อัซฮัรได้กำเนิดขึ้นมาจนถึงปัจจุบันยังมีอีกมาก แต่อัซฮัรก็ได้ต่อสู้เรื่อยมา และยังคงเป็นมหาวิทยาลัยที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้กับเยาชนมุสลิม ตั้งแต่ในอดีตจวบจนปัจจุบัน และอนาคต อัซฮัรได้ผลิตนักวิชาการนักเผยแพร่ศาสนาคนแล้วคนเล่าจนเป็นที่รู้จัก และยอมรับของประชาชนมุสลิมทั่วโลก 


 ความโดดเด่นของมหาลัยอัล-อัซฮัร
   จุดเด่นของอัล-อัซฮัร

     ความเก่าแก่ซึ่งมีอายุถึงหนึ่งพันกว่าปี ของมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร ทำให้เป็นจุดศูนย์กลางทางการศึกษาของคนมุสลิมทั่วทุกมุมโลก ดังนั้นมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัรจึงได้วางนโยบายและแบบแผนการศึกษาดังต่อไปนี้

1.เปิดรับสมัครนักศึกษามุสลิมที่ต้องการศึกษาในแต่ละสาขาวิชาการ และผู้ใฝ่ศึกษาในอิสลามอย่างจริงจัง

2.ปลูกฝังแนวความคิดอันถูกต้องในหมู่นักศึกษามุสลิม ยึดมั่นต่ออิสลามและเชิญชวนมนุษยชาติสู่สัจจะธรรม

3.พัฒนาปรับปรุงหลักสูตร และโปรแกรมการเรียนการสอน เพื่อเป็ฯการยกระดับด้านจิตสำนึกแห่งอิสลามและความเป็นชาตินิยมแก่นักศึกษาทุกคน

4.ผลิตนักวิชาการอิสลามและผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาต่างๆแก่ประเทศโลกอาหรับอิสลาม ภายใต้หลักความรู้และการศรัทธาที่ถูกต้อง

5.ส่ง เสริมให้มีการศึกษาระดับสูง ในสาขาต่างๆ และส่งนักศึกษาไปต่างประเทศเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ใหม่ๆนำมาเป็ฯประโยชน์ แก่ประเทศและโลกมุสลิม

6.สอดส่องดูแลกิจกรรมทางด้านวิชาการ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาทางด้านวิชาการด้วยการกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง มหาวิทยาลัยทั่วโลกและหย่วยงานวิจัยเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะ

ด้านภาษาต่างประเทศและการแปล

ใน คณะอักษรศาสตร์และการแปลของมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร จะประกอบไปด้วย 9 สาขาด้วยกัน คือสาขาภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศษ เยอรมัน สเปน ตุรกี ฮิบรู เปอร์เซีย แอฟริกา และกลุ่มภาษายุโรป

ส่วนกลุ่มภาษายุโรปแบ่งออกเป็น 3 สาขา

1.วรรณคดี และอารยธรรม

2.การแปลภาษา

3.อิสลามศึกษา(ศึกษาศาสตร์)

ระยะ เวลาการเรียน 4 ปี นอกจากสาขาอิสลามศึกษาซึ่งต้องเรียนเตรียมพิเศษใช้เวลาหนึ่งปี นักศึกษาต้องเรียนคัมภีร์อัลกุรอาน อรรถาธิบายอัลกุรอาน พระวจนะศาสดา(ศ้อลฯ) และความรู้เกี่ยวกับอิสลามทั่วไปด้วยภาษาต่างประเทศ เป้าหมายเพื่อให้นักศึกษามีความถนัดเรื่องการใช้ภาษา เพื่อใช้ในการแนะแนวและเผยแพร่ในต่างประเทศ

การศึกษาของสตรีในมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร

มหา วิทยาลัยอัล-อัซฮัร เปิดทำการสอนแก่สตรีมุสลีมะห์ในปีคริสตศักราช1961ด้วยการสร้างวิทยาลัยสตรี ซึ่งมีอยู่หลายสาขาด้วยกัน เพื่อศ฿กษาทางด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ อิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ หลังจากนั้นได้ปรับสาขาเหล่านี้ไปเป็นคณะต่างหาก อาทิเช่น การผนวกคณะเภสัชกรรมและเศรษฐศาสตร์ไว้ในคณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ และการผนวกคณะอิสลามศึกษาของวิทยาเขตจังหวัดอัซยูตและสาขาภาษายุโรปและการ แปลไว้ในคณะมนุษย์ศาสตร์ เช่นกันได้ก่อตั้งคณะทันตกรรมศาสตร์ที่ไคโรปี 1998/1999 และคณะมนุษย์ศาสตร์ ที่จังหวัดตาฟาฮ์นา และกีนาในปี 1999/2000

มาตรฐานการรับรองทางวิชาการ

มหา วิทยาลัยอัล-อัซฮัร ได้ประสาทปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศณียบัตรชั้นสูง และระดับปริญญาตรีในทุกๆสาขาวิชา ซึ่งรวมถีงโปรแกรมการศึกษาในแต่ละสาขาวิชาของคณะต่างๆดังต่อไปนี้

1.อนุปริญญาโท มีทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนสองปีหรือสี่เทอมของการศึกษา

2.ระดับปริญญาโท

3.ระดับปริญญาเอก


ระเบียบการสมัคร
1.ผู้ได้รับใบประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ของอัซฮัร โดย ยื่นใบสมัครผ่านพนักงานรับสมัครของมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร

2.ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรทางด้านการอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน โดยยื่นใบสมัครที่วิทยาลัยอัลกุรอาน ณ จังหวัดตอนตอ

3.ผู้ ที่ได้รับประกาศนียบัตรอนุปริญญาวิชาชีพครู อัล-อัซฮัร ทั้งชายและหญิงสมัครเรียนต่อที่คณะคุรุศาสตร์ได้แต่ต้องได้คะแนนร้อยละเจ็ด สิบคะแนนขึ้นไปจากคะแนนทั้งหมด

4.นักศึกษาสตรีที่ได้รับใบประกาศนีย บัตรมัธยมตอนปลายภาครัฐหรือเทียบเท่าสามารถสมัครเรียนได้ในสาขาภาษายุโรปและ การแปลภาษาที่คณะมนุษยศาสตร์ในไคโรเท่านั้น


นักศึกษาที่พิการทางด้านสายตาทั้งหญิงและชาย
มหา วิทยาลัยอัล-อัซฮัรเปิดรับสมัครเฉพาะคณะอักษรศาตร์ คณะศาสนศาสตร์ คณะนิติศาสตร์และกฏหมายสากในไคโร และวิทยาเขตต่างจังหวัด อาทิเช่น ดุมยาต กีนา อัซวาน ส่วนคณะคุรุศาสตร์ในไคโร เปิดรับสมัครสองสาขาด้วยกัน คือสาขาศึกษาศาสตร์ และสาขาอักษรศาสตร์เอกภาษาอาหรับ


นักศึกษาต่างชาติ
มหา วิทยาลัยอัล-อัซฮัรเปิดรับสมัครนักเรียนต่างชาติที่ได้รับประกาศนียบัตร มัธยมตอนปลายในเครืออัล-อัซฮัร หรือประกาศนียบัตรของสถาบันวิจัยอิสลามประเทศอียิปต์ และผู้ที่ได้ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายของภาครัฐหรือว่าเทียบเท่า


การวิจัยด้านวิชาการ
ทางมหาวิทยาลัย ให้ความสำคัญด้านวิจัยทางวิชาการเป็นอย่างมาก โดยจัดให้มีการค้นคว้าวิจัยและปฏิบัติการ ซึ่งมีศูนย์ปฏิบัติการ อยู่หลายคณะด้วยกัน โดยเน้นการค้นคว้าในเชิงปฏิบัติเพื่อเชื่อมประสานระหว่างมหาวิทยาลัยกับ ชุมชน ทางอัซฮัรมีศูนย์วิชาการสาขาต่างๆ และศูนย์วิจัย ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อศึกษาและค้นคว้าเฉพาะด้านในทุกแขนง เช่น ด้านการแพทย์ มนุษยศาสตร์ เกษตรกรรม อาทิเช่น ศูนย์วิจัยโรคหัวใจ ศูนย์ศึกษาภาษาสำหรับผู้ไม่เข้าใจในภาษาอาหรับ ศูนย์ศึกษาและวิจัยด้านสถิติและอื่นๆ ฯลฯ


ด้านสาธารณสุข
 มหา วิทยาลัยอัล-อัซฮัรเปิดบริการด้านสาธารณสุขแก่นักศึกษา๕ณะครู และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยด้วยโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยเอง เช่น โรงพยาบาลฮุเซ็น โรงพยาบาลซะรออ์ โรงพยาบาลลาบุลซะรียะห์ และขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยกำลังก่อสร้างโรงพยาบาลอัล-อัซฮัร ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของอัซฮัรที่เมืองนัศร์ กรุงไคโร


หอสมุดมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
มหา วิทยาลัยอัล-อัซฮัรเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา การค้นคว้า และการให้บริการสังคมโดยการสร้างหอสมุด เพื่อบริการนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ผู้ศึกษาปริญญาโท คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย
 หอสมุดศูนย์กลาง มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัรประกอบไปด้วยหลายสาขา มีหนังสืออยู่ประมาณ 51016 เล่มทั้งภาษาอาหรับและภาษาต่างประเทศ และยังมีห้องสมุดที่รวบรวมวิทยานิพนธ์อยู่ 10110 เล่มในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ภาษาอาหรับและภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัรยังมีห้องสมุดประจำคณะอีก 50 แห่ง มีห้องสมุดประจำหอประชุมอิสลามมีห้องโกดังเก็บหนังสือเพื่อการแลกเปลี่ยน สิ่งพิมพ์เพ่อการแจกจ่ายของหอประชุมอิสลามมีหนังสือสำรองอยู่ประมาณ 31466 เล่ม

หอพักนักศึกษา


อัล-อัซ ฮัรมีเจตนารมย์ตั้งแต่แรกเริ่มในการดูแลอุปถัมภ์นักศึกษาต่างชาติ และถ่ายทอดความรู้ไปสู่ทั่วทุกมุมโลก โดยจัดเตรียมที่พักอาศัยและปัจจัยยังชีพ ถือได้ว่าอัล-อัซฮัรเป็นสถาบันแห่งแรกในโลกที่ริเริ่มการสร้างหอพักนักศึกษา สหรับรองรับนักศึกษาชาวอียิปต์เองและ นักศึกษามุสลิมจากทั่วโลก ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1972/1973 มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัรได้เปิดหอนักศึกษาสำหรับชาวอียิปต์ที่เมืองนัศร ไคโร จนถึงปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยมีหอพักศึกษาชายและหญิงทั้งในไคโรและวิทยาเขต ต่างจังหวัด นอกจากนั้นยังมีหอพักสตรีที่เตรียมไว้นอกอาณาเขต ซึ่งในหอพักนักศึกษาทางมหาวิทยาลัยได้เตรียมอำนวยความสะดวกต่างๆเช่นโรง อาหาร สนามกีฬาและโรงยิม ฯลฯ

    กิจกรรมนักศึกษาทางด้านวิชาการ ศิลปะ และกีฬา

มหา วิทยาลัยอัล-อัซฮัรได้ให้ความสำคัญต่อการบริการสังคม ด้วยการเน้นแบบแผนกิจกรรมต่างๆดางด้านวิชาการ ศิลปะ และการกีฬา โดยจัดให้มีบุคลากรแต่ละด้านเป็นการพิเศษเช่น การแข่งขันทางวิชาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม ทางมหาวิยาลัยได้เปิดศูนย์ศิลปะ 2 อาคารด้วยกัน อาคารแรกชื่ออาคารมูฮัมมัด อับดฮ์ ที่เขตดัรรอซะห์ และอาคารที่สองคณะเกษตรศาสตร์ที่เมืองนัศร์ ไคโร นักศึกษาได้มีโอกาสแสดงศิลปะกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น การแสดงดนตรีพื้นเมือง และงานเขียนต่างๆ


บุคคลสำคัญที่ผ่านการเจียระไนจากอัล-อัซฮัร


บุคคล สำคัญในประวัติศาสตร์ที่ผ่านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร ล้วนเป็นผู้นำทางด้านการเมืองและทางด้านนักคิดนักพัฒนาในประเทศอียิปต์ เช่น ชัยค์ อับดุลลอฮ์ อัซซัรกอวีย์ และมุฮัมมัด  อัซ-ซาดาต ผุ้นำขับไล่การยึดครองฝรั่งเศษต่อประเทศอียิปต์  อะหมัดอารอบีย์ อิหม่ามมุฮัมมัด อับดุฮ์ สะอัด ซัคลูล และอีกหลายๆท่าน ที่มีบทบาทสำคัญในประเทศอียิปต์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

จากหนังสือ.."ไคโรสาร 48"

ข้อมูลทั่วไปของมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร

มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรเปิดรับนักศึกษา ทั้งชายและหญิง แต่จะไม่มีการเรียนการสอนปะปนกัน มีวิทยาเขตทั้งในกรุงไคโรและต่างจังหวัดอีก 11 แห่ง ซึ่งเปิดสอนวิชาสาขาต่างๆ ดังนี้
วิทยาเขตกรุงไคโร

สายศิลป์สำหรับนักศึกษาชาย
1. คณะศาสนศาสตร์ (กุลลียะฮ์อุซูลุดดีน)
2. คณะนิติศาสตร์ (อิสลาม) และกฎหมายสากล (กุลลียะฮ์ชารีอัตวัลกอนูน)
3. คณะอักษรศาสตร์ เอกภาษาอาหรับ (กุลลียะฮ์ลูเฆาะฮ์อัลอารอบียะฮ์)
4. คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ (กุลลียะฮ์ดีรอซ๊าตอิสลามียะฮ์)
5. คณะเผยแพร่อิสลาม/นิเทศศาสตร์ (กุลลียะฮ์ดะอ์วะฮ์อิสลามียะฮ์)
6. คณะคุรุศาสตร์ (กุลลียะฮ์อัตตัรบียะฮ์)
7. คณะอักษรศาสตร์และการแปล (กุลลียะฮ์ลุเฆาะฮ์วัตตัรญุเมาะฮ์)

สายวิทยาศาสตร์สำหรับนักศึกษาชาย
1. คณะศาสนศาสตร์ (กุลลียะฮ์อุซูลุดดีน)
2. คณะนิติศาสตร์อิสลามและกฎหมายสากล (กุลลียะฮ์ชารีอัตวัลกอนูน)
3. คณะอักษรศาสตร์ เอกภาษาอาหรับ (กุลลียะฮ์ลูเฆาะฮ์อัลอารอบียะฮ์)
4. คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ (กุลลียะฮ์ดีรอซ๊าตอิสลามียะฮ์)
5. คณะเผยแพร่อิสลาม/นิเทศศาตร์ (กุลลียะฮ์ดะอ์วะฮ์อิสลามียะฮ์)
6. คณะเศรษฐศาสตร์ (กุลลียะฮ์ติญาเราะฮ์)
7. คณะคุรุศาสตร์ (กุลลียะฮ์อัตตัรบียะฮ์)
8. คณะอักษรศาสตร์และการแปล (กุลลียะฮ์ลุเฆาะฮ์วัตตัรญุเมาะฮ์)
9. คณะแพทย์ศาสตร์ (กุลลียะฮ์ฏิบ)
10. คณะเภสัชศาสตร์ (กุลลียะฮ์ซอยดาลียะฮ์)
11. คณะแพทย์ศาสตร์แผนกทันตกรรม (กุลลียะฮ์ฏิบบิลอัซนาน)
12. คณะวิศวกรรมศาสตร์ (กุลลียะฮ์ฮันดาซะฮ์)
13. คณะวิทยาศาสตร์ (กุลลียะฮ์อูลูม)
14. คณะเกษตรศาสตร์ (กุลลียะฮ์ซิรออะฮ์)

สายศิลป์สำหรับนักศึกษาหญิง
1. คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ (กุลลียะฮ์ดีรอซ๊าตอิสลามียะฮ์)
2. คณะมนุษย์ศาสตร์ (กุลลียะฮ์ดีรอซ๊าตอัล-อินซานียะฮ์)

สายวิทยาศาสตร์สำหรับนักศึกษาหญิง
1. คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ (กุลลียะฮ์ดีรอซ๊าตอิสลามียะฮ์)
2. คณะมนุษย์ศาสตร์ (กุลลียะฮ์ดีรอซ๊าตอัล-อินซานียะฮ์)
3. คณะเศรษฐศาสตร์ (กุลลียะฮ์ติญาเราะฮ์)
4. คณะแพทย์ศาสตร์ (กุลลียะฮ์ฏิบ)
5. คณะเภสัชศาสตร์ (กุลลียะฮ์ซอยดาลียะฮ์)
6. คณะวิทยาศาสตร์ (กุลลียะฮ์อูลูม)
7. แผนกทันตกรรม คณะแพทย์ศาสตร์ (ชุอ์บะฮ์ฏิบบิลอัซนานบิกุลลียะฮ์ฏิบ)

วิทยาเขตต่างจังหวัด
1. วิทยาเขตซากอซีก มี 4 คณะ
- คณะศาสนศาสตร์และการเผยแพร่
- คณะอักษรศาสตร์
- แผนกคัมภีร์อัล-กุรอ่านและความรู้เกี่ยวกับอัล-กุรอ่าน
- คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ (สำหรับผู้หญิง)
2. วิทยาเขตตอนตอ มี 3 คณะ
- คณะศาสนศาสตร์และการเผยแพร่
- คณะนิติศาสตร์อิสลามและกฎหมายสากล
- คณะศาสนศาสตร์และการเผยแพร่กฎหมายสากล
3. วิทยาเขตมันซูเราะห์ มี 4 คณะ
- คณะศาสนศาสตร์และการเผยแพร่
- คณะอักษรศาสตร์
- คณะนิติศาสตร์อิสลามและกฎหมายสากล
- คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ (สำหรับผู้หญิง)
4. วิทยาเขตซิบิลกุม มี 2 คณะ
- คณะศาสนศาสตร์และการเผยแพร่
- คณะอักษรศาสตร์
5. วิทยาเขตดามันฮูร มี 2 คณะ
- คณะนิติศาสตร์อิสลามและกฎหมายสากล
- คณะอักษรศาสตร์
6. วิทยาเขตดุมยาท มี 1 คณะ คือ คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ
7. วิทยาเขตดากอลียะห์ มี 2 คณะ
- คณะคุรุศาสตร์
- คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ
8. วิทยาเขตกุฟรอชัยค์ มี 1 คณะ คือ คณะอิสลามศึกษา
9. วิทยาเขตอเล็กซานเดรีย มี 1 คณะ คือ คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ
10. วิทยาเขตตะฟะห์นาอัลอัชร๊อฟ มี 3 คณะ
- คณะนิติศาสตร์อิสลามและกฎหมายสากล
- คณะอักศรศาสตร์
- คณะคุรุศาสตร์
11. วิทยาเขตอัซยูต มี 3 คณะ
- คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ
- คณะนิติศาสตร์และกฎหมายสากล
- คณะมนุษยศาสตร์



สำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตา (ตาบอด) สามารถสมัครเรียนได้ในคณะและสาขาดังนี้
นักศึกษาชาย
1. คณะอักษรศาสตร์ (วิทยาเขตไคโรและวิทยาเขตต่างจังหวัด) สาขาทั่วไป และสาขาประวัติศาสตร์และอารยธรรม)
2. คณะนิติศาสตร์และกฎหมายสากล (วิทยาเขตไคโรและวิทยาเขตต่างจังหวัด) สาขานิติศาสตร์อิสลาม
3. คณะศาสนศาสตร์ (วิทยาเขตไคโรและวิทยาเขตต่างจังหวัด)
4. คณะเผยแพร่อิสลาม (วิทยาเขตไคโร)
5. คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ (วิทยาเขตไคโร)
6. คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ (วิทยาเขตดุมย๊าต)
7. คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ (วิทยาเขตกุฟรอชัยค์)
8. สาขาอิสลามศึกษาและสาขาภาษาอาหรับของคณะศึกษาศาสตร์ (วิทยาเขตไคโรและวิทยาเขตต่างจังหวัด)

นักศึกษาหญิง
1. คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ (วิทยาเขตไคโรและวิทยาเขตต่างจังหวัด)
2. คณะมนุษยศาสตร์สำหรับนักศึกษาหญิง (วิทยาเขตไคโร)
  • รายละเอียดคณะและหลักสูตรต่างๆ ในระดับปริญญาตรี
  • สำหรับนักศึกษาชาย
    1. คณะศาสนศาสตร์ (กุลลียะฮ์อุซูลุดดีน) ปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี เปิดสอนทั้งที่วิทยาเขตไคโรและวิทยาเขตต่างจังหวัด มี 4 สาขา
      1.1 การอรรถาธิบายและความรู้เกี่ยวกับอัล-กุรอ่าน (อัตตัฟซีรว่าอุลูมกุรอ่าน)
      1.2 วจนะและความรู้เกี่ยวกับวจนะศาสดา (อัล-หะดีษว่าอุลูมหะดีษ)
      1.3 หลักศรัทธาและปรัชญา (อัล-อะกีดะฮ์วัลฟะลาซาฟะฮ์)
      1.4 การเผยแพร่และอารยธรรม (อัดดะอ์วะฮ์วัซซะกอฟะฮ์)
    โดยจะทำการสอนในรายวิชาทั่วไปในปีที่ 1-2 และจะเปิดโอกาสให้เลือกเรียนเฉพาะสาขา  ในปีที่ 3-4
    2. คณะนิติศาสตร์และกฎหมายสากล (กุลลียะฮ์ชารีอัตวัลกอนูน) เปิดสอนที่วิทยาเขตไคโร วิทยาเขตตอนตอ วิทยาเขตดามันฮูร วิทยาเขตตาฟะห์นาอัลอัชร๊อฟ และวิทยาเขตอัสยูต มี 2 สาขา
      2.1 ชารีอะห์ อิสลามียะฮ์ (นิติศาสตร์อิสลาม) ปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี
      2.2 ชารีอะห์ วัลกอนูน (นิติศาสตร์และกฎหมายสากล) ปริญญาตรีหลักสูตร 5 ปี
    3. คณะอักษรศาสตร์ (กุลลียะห์ ลูเฆาะ อัลอารอบียะหฺ) ปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี เปิดสอนที่วิทยาเขตไคโรและวิทยาเขตต่างจังหวัด มี 3 สาขา
      3.1 ทั่วไปเอกภาษาอาหรับ (ชุอ์บะฮ์อามมะห์)
      3.2 ประวัติศาสตร์และอารยธรรม (อัตตารีค วัลฮาดอเราะห์)
      3.3 วารสาศาสตร์/สื่อสารมวลชน/นิเทศศาสตร์ (อัซซอฮาฟะห์ วัลเอียะลาม)
    หมายเหตุ - จะสอนเฉพาะสาขาตั้งแต่แรก
    - สำหรับวิทยาเขตต่างจังหวัด จะเปิดสอนเฉพาะสาขาทั่วไป นอกจากวิทยาเขตซิบินกุม ซึ่งจะเปิดสอนทั้งสามสาขา
    4. คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ (กุลลียะห์ดิรอซ๊าตอิสลามียะห์ วัลอารอบียะห์) ปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี เปิดสอนเฉพาะที่วิทยาเขตไคโร
    5. คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ (กุลลียะห์ดิรอซ๊าตอิสลามียะห์ วัลอารอบียะห์) ปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี เปิดสอนที่วิทยาเขตดุมยาท มี 3 สาขา
      5.1 ศาสนศาสตร์ (อูซูลุดดีน)
      5.2 นิติศาสตร์อิสลาม (ชารีอะห์อิสลามียะห์)
      5.3 อักษรศาสตร์ (ลูเฆาะห์วัลอารอบียะห์)
    6. คณะเศรษฐศาสตร์ (กุลลียะห์ติญาเราะห์) ปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี เปิดสอนที่วิทยาเขตไคโร มี 4 สาขา
      6.1 สถิติ (อัลอิห์ซอ) 6.2 การบัญชี (อัลมุฮาซาบะห์)
      6.3 เศรษฐศาสตร์ (อัลอิกตีซ๊อด) 6.4 บริหาร (อิดารอตุ้ลอะมัล)
    โดยจะทำการสอนในรายวิชาทั่วไปในปีที่ 1-2 และจะเปิดโอกาสให้เลือกเรียนเฉพาะสาขาในปีที่ 3 และ 4 ใน 4 สาขาข้างต้น
    7. คณะอักษรศาสตร์และการแปล (กุลลียะห์ลูเฆาะวัตตัรญุมเมาะห์) ปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี เปิดสอนที่วิทยาเขตไคโร มี 10 สาขา โดยจะทำการสอนแยกสาขาตั้งแต่ปีแรก
      7.1 ภาษาและวรรณคดีอังกฤษ 7.2 ภาษาและวรรณคดีสเปน
      7.3 ภาษาและวรรณคดีตุรกี 7.4 ภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส
      7.5 ภาษาและวรรณคดีเปอร์เซีย 7.6 ภาษาและวรรณคดีฮีบรู
      7.7 ภาษาและวรรณคดีอุรดู 7.8 ภาษาและวรรณคดีเยอรมัน
      7.9 อิสลามศึกษา ใช้ภาษาอังกฤษในการสอน (เรียนชั้นเตรียม 1 ปี)
      7.9 อิสลามศึกษา ใช้ภาษาเยอรมันในการสอน (เรียนชั้นเตรียม 1ปี)
      7.10 อิสลามศึกษา ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการสอน (เรียนชั้นเตรียม 1ปี)
    8. คณะคุรุศาสตร์ (กุลลียะห์อัตตัรบียะห์) ปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี เปิดสอนที่วิทยาเขตไคโร และวิทยาเขตดากอลียะห์ มี 2 หลักสูตร
      8.1 หลักสูตรปริญญาตรีสายศิลป์ มี 8 สาขา คือ ศึกษาศาสตร์ ภาษาอาหรับ
    ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การบริการ และห้องสมุด/
    เทคโนโลยีและการศึกษา
      8.2 หลักสูตรการศึกษาปริญญาตรีสายวิทยาศาสตร์ มี 4 สาขา คือ ฟิสิกส์ เคมี ธรรมชาติ
    วิทยา และคณิตศาสตร์ โดยจะทำการสอนเฉพาะสาขาตั้งแต่ปีแรก
    9. คณะอัล-กรุอานและความรู้เกี่ยวกับคัมภีร์อัล-กรุอาน (กุลลียะห์อัดตัฟซีร วัลอุลูมกุรอ่าน) ปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี เปิดสอนที่วิทยาเขตตอนตอ
    10. คณะแพทย์ศาสตร์ (กุลลียะห์ฏิบ) เปิดสอนที่วิทยาเขตไคโร ปริญญาตรีทางการแพทย์และศัลยกรรม
    หลักสูตร 6 ปี และฝึกงานอีก 1 ปี ในโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยหรือของรัฐ
    11. คณะเภสัชศาสตร์ (กุลลียะห์ซอยดาลียะฮ์) ปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี เปิดสอนที่วิทยาเขตไคโร
    12. คณะทันตแพทย์ศาสตร์ (กุลลียะห์ฏิบบิลอัซนาน) ปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี เปิดสอนที่วิทยาเขตไคโร และฝึกงานด้านทันตกรรมและศัลยกรรมเกี่ยวกับช่องปากและฟัน
    13. คณะวิศวกรรมศาสตร์ (กุลลียะห์ฮันดาซะฮ์) ปริญญาตรีหลักสูตร 5 ปี เปิดสอนที่วิทยาเขตไคโร มี 5 สาขา คือ วิศวกรรมอุตสาหกรรม วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมปิโตรเลียม โดยจะทำการสอนเฉพาะสาขาตั้งแต่ปีแรก
    14. คณะวิทยาศาสตร์ (กุลลียะฮ์อุลูม) ปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี เปิดสอนที่วิทยาเขตไคโร มี 9 สาขา คือ เคมี ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา ชีววิทยา พฤกษาศาสตร์ สัตววิทยา ศัลยกรรมศาสตร์ ดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์
    โดยจะทำการสอนเฉพาะสาขาตั้งแต่ ปีแรก แต่จะเพิ่มเวลาเรียนอีกหนึ่งปีสำหรับสาขาชีววิทยา และศัลยกรรมศาสตร์ โดยจะศึกษาร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์
    15. คณะเกษรตรศาสตร์ (กุลลียะฮ์ซิรอะหฮ์) ปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี เปิดสอนที่วิทยาเขตไคโรในสาขาต่างๆ ดังนี้
      15.1 สาขาทั่วไป                                15.2 ผลิตผลการเกษตร
      15.3 อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม      15.4 เทคโนโยลีการเกษตร
      15.5 โรคพืชพันธุ์                               15.6 ธุรกิจการเกษตร
      15.7 สิ่งแวดล้อม                               15.8 ปศุสัตว์
      15.9 การส่งออกปลา
    โดยจะทำการสอนวิชาทั่วไปในปีที่ 1-2 และจะเปิดโอกาสให้เลือกเรียนเฉพาะสาขาในปีที่ 3 เป็นต้นไป

     
    สำหรับนักศึกษาหญิง
    1. คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ (กุลลียะห์อัดดิรอซาต อิสลามียะห์วัลอารอบียะห์) ปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี เปิดสอนที่วิทยาเขตไคโร วิทยาเขตอเล็กซานเดรีย วิทยาเขตมันซูเราะห์ และวิทยาเขต
    ซากอซิก มี 3 สาขา
      1.1 ศาสนศาสตร์ (อูซูลุดดีน) ทำการสอนหลักสูตรทั่วไปในปีที่ 1-2 และสามารถเลือกเรียน
    แผนกใดแผนกหนึ่งได้ในปีที่ 3 ดังนี้
        1.1.1 การอรรถาธิบายและความรู้เกี่ยวกับอัลกุรอ่าน (อัดตัฟซีร วัลอุลูมกุรอ่าน)
        1.1.2 วจนะและความรู้เกี่ยวกับวจนะศาสดา (อัลฮาดิษ วัลอุลูมฮาดิษ)
        1.1.3 หลักศรัทธาและปรัชญา (อัลอะกีดะห์ วัลฟาลาวะฟะห์)
      1.2 นิติศาสตร์อิสลาม (ชารีอะห์)
      1.3 อักษรศาสตร์ (กลูเฆาะ อัลอารอบียะห์)
    2. คณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ (กุลลียะห์อัดดิรอซาต อิสลามียะห์วัลอารอบียะห์) ปริญญาตรีหลักสูตร 4 เปิดสอนที่วิทยาเขตอัซยูต มี 4 สาขา
      2.1 ศาสนศาตร์ (อูซูลลุดดีน)
      2.2 กฎหมายอิสลาม (ชารีอะห์)
      2.3 อักษรศาสตร์ (ลูเฆาะอัลอารอบียะห์)
      2.4 พาณิชยศาสตร์ (ติญาเราะห์)
    3. คณะมนุษยศาสตร์ (กุลลียะห์ดีรอซ๊าตอิงซานียะห์) หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี เปิดสอนที่วิทยาเขตอัซยูต มี 6 สาขา
    10
      3.1 สาขามนุษยศาสตร์ (อินซานียะห์) มี 4 แผนก คือ สังคม จิตวิทยา ประวัติศาสตร์ และ
    ภูมิศาสตร์
      3.2 สาขาภาษายุโรปและทักษะรวมทางภาษาชั้นสูง (ลูเฆาะห์อุรูบียะห์
    วัตตัรญุมเมาะห์เฟารียะห์) มี 2 แผนก คือ ภาษาอังกฤษและการแปล และภาษาฝรั่งเศส
    และการแปล
      3.3 สาขาภาษาและวรรณคดียุโรป (ลูเฆาะห์อุรูบียะห์) มี 2 แผนก คือ ภาษาเยอรมัน และ
    ภาษาสเปน
      3.4 สาขาภาษาและวรรณคดีตะวันออก (ลูเฆาะห์ชัรกียะห์) มี 4 แผนก คือ ภาษาและ
    วรรณคดีเปอร์เซีย ภาษาและวรรคดีตุรกี ภาษาและวรรณคดีอุรดู และภาษาและวรรณคดี
    ฮิบรู
      3.5 สาขาคุรุศาสตร์ (ตัรบียะห์) เอกวรรณคดี
      3.6 สาขาวารสารศาสตร์ (เอี๊ยะลามวัส ซอฮาฟะห์)
    4. คณะเศรษฐศาสตร์ (กุลลียะห์ติญาเราะห์) ปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี เปิดสอนที่วิทยาเขตไคโร และวิทยาเขตดะห์กอลียะห์ มี 5 สาขา คือ สถิติ การบัญชีและการตรวจสอบบัญชี เศรษฐศาสตร์ การบริการ และการประกันภัย
    5. คณะแพทย์ศาสตร์ (กุลลียะห์ฏิบ) การเรียนสอนเป็นเช่นเดียวกับของนักศึกษาชาย
    6. คณะเภสัชศาสตร์ (กุลลียะห์ซ๊อยดาลียะห์) การเรียนสอนเป็นเช่นเดียวกับของนักศึกษาชาย
    7. สาขาทันตกรรม คณะแพทย์ศาสตร์ (กุลลียะห์ฏิบ) เปิดสอนที่วิทยาเขตไคโร หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี เริ่มด้วยชั้นเตรียม 1 ปี เมื่อจบหลักสูตรแล้ว มีการฝึกงานอีก 1 ปี
    8. คณะวิทยาศาสตร์ (กูลียะห์อุลูม) เปิดสอนที่วิทยาเขตไคโร หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี มี 4 สาขา คือ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ นักศึกษาต้องเลือกลงเรียนสาขาใดสาขาหนึ่งตั้งแต่ปีแรก
  •  
  • หลักเกณฑ์การรับสมัครนักศึกษาต่างชาติเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร
  •     มหาวิทยาลัย อัลอัซฮัรจะรับนักศึกษาต่างชาติเข้าเรียนในแต่ละคณะและสาขาที่ไม่ใช่สาย ศาสนาได้ไม่เกิน 10% ของจำนวนของนักศึกษาอียิปต์ โดยจะพิจารณาตามคุณสมบัติและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
    1. เป็นผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาจากสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์
    2. เป็นผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรชั้นมัธยมปลาย (ซานาวี) จากสถาบันของอัลอัซฮัร หรือประกาศนียบัตรชั้นมัธยมปลายจากวิทยาลัยบุอูส สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์
    3. เป็นผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรเทียบเท่าระดับมัธยมปลายจากสถาบันที่สอนศาสนา อิสลามในประเทศต่างๆ ที่ได้รับการรับรองวุฒิการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร
    หมายเหตุ
    1. ไม่อนุญาตให้นักศึกษาต่างชาติเข้าเรียนคณะแพทย์ศาสตร์ แผนกทันตกรรม เภสัชศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ นอกจากจะได้รับการอนุมัติจากอธิการบดีมหาวิทยาลัย
    2. นักศึกษาต่างชาติที่ไม่ได้รับทุนการศึกษาจากสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ที่ได้รับอนุมัติให้เข้าเรียนในคณะและสาขาที่ไม่ใช่สายศาสนาจะต้องจ่ายค่า หน่วยกิตวิชาและค่าประกันตามที่กำหนด
         เงื่อนไขอื่นๆ
    1. นักศึกษาจากสายวิทยาศาสตร์ที่จะทำการเข้ารับการศึกษาในคณะเผยแพร่อิสลามและ สาขาต่างๆของคณะศาสนศาสตร์ จะต้องมีจำนวนไม่เกิน 15% ของจำนวนของนักศึกษาจากสายศิลป์ที่ได้รับการเสนอชื่อ โดยต้องมีคะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 70% และต้องผ่านการสอบวิชาท่องจำอัลกุรอ่าน
    อารยธรรม อิสลาม และบรรยายศาสตร์ (คิฎอบะห์) สำหรับผู้ที่สอบไม่ผ่าน ก็จะได้รับการเสนอชื่อให้เข้าเรียนในคณะอื่นต่อไปตามความเหมาะสมและความ สามารถ
    2. ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเรียนในคณะคุรุศาสตร์และสาขาคุรุศาสตร์ของคณะ มนุษยศาสตร์ (สำหรับนักศึกษาหญิง) จะต้องผ่านการสอบเข้า ผู้ที่สอบไม่ผ่านจะได้รับการเสนอชื่อให้เข้าเรียนในคณะอื่นต่อไปตามความ เหมาะสมและความสามารถ
    3. ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเรียนสาขาสื่อสารมวลชน (นิเทศศาสตร์) ของคณะอักษรศาสตร์และคณะอิสลามศึกษา (สำหรับนักศึกษาหญิง) วิทยาเขตไคโร จะต้องได้รับคะแนนในวิชาภาษาต่าง ประเทศไม่ต่ำกว่า 60% (ทั้งสายวิทยาศาสตร์และสายศิลป์)
    4. ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเรียนในสาขาทักษะรวมภาษาชั้นสูง (ภาษาอังกฤษ) สาขาอิสลามศึกษา (ที่ใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศสและภาษาเยอรมันในการสอน) ของคณะอักษรศาสตร์และการแปล จะต้องได้รับประกาศนียบัตรมัธยมปลายของมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร หรือเทียบเท่า และมีคะแนนไม่ต่ำกว่า70% จากคะแนนรวม รวมทั้งจะต้องได้คะแนนภาษาอังกฤษ/ฝรั่งเศส/เยอรมันไม่ต่ำกว่า 70% ของคะแนนรวม
    5. ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเรียนในคณะแพทย์ศาสตร์ ทันตกรรมและเภสัชศาสตร์จะต้องได้รับประกาศนียบัตรมัธยมปลายของมหาวิทยาลัย อัลอัซฮัร หรือเทียบเท่า และมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 75%
    ในวิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยาและภาษาอังกฤษ
    6. ผู้ประสงค์จะสมัครเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์จะต้องได้รับประกาศนียบัตรมัธยม ปลายของมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร หรือเทียบเท่า และมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 75% จากคะแนนรวม และวิชาคณิตศาสตร์
    7. ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเรียนสาขาวิศวกรรมโยธา การวางผังเมือง จะต้องผ่านการสอบเข้า หากสอบไม่ผ่าน ก็จะได้รับการเสนอชื่อให้เข้าเรียนในสาขาทั่วไป
    8. ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าเรียนในสาขาดังต่อไปนี้ จะต้องผ่านการเรียนชั้นเตรียมเป็นเวลา 1 ปี และต้องสอบผ่านก่อนจึงจะได้รับการเสนอชื่อให้เข้าเรียนในสาขานั้นๆ ผู้ไม่ผ่านการสอบ สามารถสอบแก้ตัวได้ 1 ครั้ง และหากยังสอบไม่ผ่านอีก ก็จะได้รับการพิจารณาให้เรียนในคณะอื่นที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ
    - สาขาอิสลามศึกษา (ภาษาอังกฤษ) ของคณะอักษรศาสตร์และการแปล (ชาย)
    - สาขาอิสลามศึกษา (ภาษาฝรั่งเศส) ของคณะอักษรศาสตร์และการแปล (ชาย)
    - สาขาอิสลามศึกษา(ภาษาเยอรมัน) ของคณะอักษรศาสตร์และการแปล (ชาย)
    - สาขาทักษะรวมภาษาชั้นสูง (ภาษาอังกฤษ) ของคณะอักษรศาสตร์และการ
    แปล (ชาย)
    - สาขาภาษาและวรรณคดียุโรป และสาขาการแปลภาษาชั้นสูงของคณะมนุษย์
    ศาสตร์ (หญิง)
    หมายเหตุ
    - ประกาศนียบัตรมัธยมปลาย หรือเทียบเท่า จะต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่ออกใบประกาศ
    - นักศึกษาต้องไม่เคยสมัครและได้รับการเสนอชื่อมาก่อนในสาขาและคณะที่ต้องการสมัครเข้าเรียน
                                     
       การสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร

    สถาน ที่รับสมัครอยู่ที่ตึกศูนย์อำนวยการใหญ่เกี่ยวกับการรับเอกสาร การเทียบวุฒิ และการสมัครเรียน ตั้งอยู่ ณ ฮัย ซาเบี๊ยะ เขตนัสร์ซิตี้ มี 2 หน่วยงาน คือ
    1. สำนักงานขายซองสมัครเรียน หรือที่นิยมเรียกกันว่า “ตังซีก” จะจำหน่ายซองเอกสาร (หลักฐานการรับสมัคร ใบคำร้องขอสมัครเข้าเรียน รายละเอียดคณะและเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ) ในราคา 200 ปอนด์อียิปต์ (ประมาณ 1,200 บาท) เปิดทำการในวันอาทิตย์-วันพฤหัสบดี เวลา 09.00-12.00 น. ทั้งนี้ นักศึกษาจะต้องนำใบผลการสอบไปแสดงด้วยในการขอซื้อเอกสาร
    13
    2. สภาวิจัยอิสลามศึกษา (Islamic Research Academy) จะทำหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร และเทียบวุฒิการศึกษา เปิดทำการในวันอาทิตย์-วันพฤหัสบดี เวลา 15.00-18.00 น.
         เอกสารการสมัครเรียน

    1. แบบฟอร์มคำร้องสมัครเข้าเรียนของมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร พร้อมทั้งอากรแสตมป์ตามที่กำหนด
    2. ใบประกาศนียบัตรชั้นมัธยมปลายจากสถาบันของมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร หรือประกาศนียบัตรชั้นมัธยมปลายจากวิทยาลัยบุอูส หรือจากสถาบันที่สอนศาสนาอิสลามในประเทศต่างๆ ที่ได้รับการรับรองวุฒิการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร พร้อมใบคะแนนแสดงผลการสอบ
    3. ใบรับรองการเกิดจากทางราชการ (ขอได้จากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร)
    4. รูปถ่ายสี จำนวน 6 รูป ขนาด 4x6 ซ.ม.
    5. หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา
    6. ใบนำสมัครเรียนซึ่งออกให้โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร
        คำแนะนำต่างๆสำหรับนักศึกษา

    1. นักศึกษาจะต้องอ่านคู่มือพร้อมทั้งคำแนะนำที่แนบมากับเอกสารอย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบฟอร์มการเลือกคณะ
    2. ภายในซองจะมีเอกสารระบุชื่อของคณะและแผนกต่างๆ ทั้งในไคโรและวิทยาเขตต่างจังหวัดเอาไว้ ขอให้ศึกษาข้อมูลของคณะต่างๆ ให้ละเอียดก่อนการตัดสินใจว่าจะเรียนคณะไหน จากนั้น จึงกรอกข้อมูลต่างๆ ในแบบฟอร์มให้ครบถ้วน เซ็นชื่อกำกับ พร้อมทั้งติดแผ่นเลือกคณะลงในกรอบตามลำดับให้ครบทุกแผ่น และจะต้องไม่แก้ไขหรือลบหมายเลขต่างๆ ที่ได้เลือกลำดับเอาไว้ เพราะสำนักงานจะจ่ายเอกสารให้กับนักศึกษาเพียงครั้งเดียว และจะไม่รับสมัครหากมีการลบหรือแก้ไขเอกสาร
    3. มหาวิทยาลัยจะจัดให้นักศึกษาเข้าเรียนในคณะที่ได้เลือกไว้ โดยจะพิจารณาจากรายชื่อคณะและลำดับที่ระบุไว้ ประกอบกับความสามารถและความเหมาะสมของผู้สมัคร
    4. นักศึกษาจะต้องเขียนความประสงค์ที่จะเข้าเรียนในคณะที่ตนต้องการสมัคร ให้สอดคล้องกับสิ่งที่ได้เขียนไว้ในแบบฟอร์มเลือกคณะ และแผ่นเลือกที่นักศึกษาได้เลือกเอาไว้ สำหรับผู้ที่ต้องการจะย้ายคณะจะต้องระบุว่าเคยศึกษาในคณะใดมาก่อน พร้อมทั้งแจ้งวันออกประกาศนียบัตรลงในช่องที่กำหนดไว้ในแบบฟอร์ม
    5. เก็บซองเอกสาร ใบเสร็จพร้อมหมายเลขที่สำนักงานออกให้ เพื่อความสะดวกในการติดต่อครั้งต่อๆ ไป
                                                                                                                         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น